การจัดประสบการณ์ทางศิลปะสำหรับเด็ก

สอนวาดรูป,วาดรูป,วาดภาพ,ภาพวาด,สอนวาดรูปผู้ใหญ่,สอนวาดรูปบางใหญ่,สอนวาดรูปบางบัวทอง,เรียนวาดรูปฟรี,วิธีวาดรูป,สอนวาดรูปคน,สอนแต่งรูป,สอนวาดรูปง่ายๆ,การวาดรูป,ภาพวาดสวยๆ,สอนวาดรูปการ์ตูน,รูประบายสี,สอนวาดรูปลายเส้น,สอนวาดรูปดอกไม้,สอนวาดรูปเหมือน,สอนสีน้ำ,สอนสีน้ำมัน,สีอะคริลิค,สอนทำพอร์ท,ติวมัณฑนศิลป์,ติวนิเทศศิลป์ ,การทำ Portfolio ,Fashion,Computer Graphic,ติวออกแบบ,ติววาดรูป,เรียนวาดรูป,เรียนศิลปะ,เรียนศิลปะเด็ก,ติวความถนัด,ติวสีน้ำ,ติวเข้าศิลปากร,ติวเข้าลาดกระบัง,สอนวาดภาพ

ถ้าเราเห็นว่ากิจกรรมทางศิลปะมีประโยชน์สำหรับเด็ก  แล้วเราควรจะจัดกิจกรรมให้กับพวกเขาอย่างไรดีล่ะ?

ดังที่พอทราบกันว่ากิจกรรมทางศิลปะมีประโยชน์ในการช่วยพัฒนาเด็กในหลายๆ ด้าน การจัดประสบการณ์ทางศิลปะให้กับเด็กจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ควรส่งเสริมให้เด็กได้แสดงออกทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน  การประกอบกิจกรรมทางศิลปะสำหรับเด็กอาจไม่จำเป็นต้องทำทุกวัน  อาจใช้เวลาว่างหลังเลิกเรียนและทำการบ้านเสร็จเรียบร้อยแล้ว  หรือเป็นกิจกรรมร่วมกันระหว่างเด็กและผู้ปกครองในวันเสาร์อาทิตย์    เมื่อเด็กมีความสนใจที่จะแสดงออกผู้ปกครองไม่ควรขัดขวาง เช่น เด็กเล็กๆ เมื่อจับดินสอได้มักจะขีดเขียนไปทั่ว พื้นบ้าน  ฝาผนัง ฯลฯ  ผู้ปกครองบางคนที่ไม่เข้าใจอาจดุด่าว่าเด็กทำให้เด็กกลัว  คิดว่าสิ่งที่ตนทำนั้นผิด  ทางที่ดีควรหาอุปกรณ์ที่เหมาะสม เช่น กระดาษ กระดาน สีเทียน ฯลฯ เพื่อให้เด็กได้มีพื้นที่ในการแสดงออกอย่างอิสระ

วิธีการจัดประสบการณ์ศิลปะสำหรับเด็กควรมุ่งเน้นในการจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนเพื่อส่งเสริมให้เด็กได้มีโอกาสสำรวจ ทดลอง ค้นคว้าจากวัสดุนานาชนิด ด้วยวิธีการเรียนแบบแก้ปัญหา แทนการกระทำตามตัวอย่างและการเลียนแบบ เลิศ อานันทะ[1] ได้เสนอวิธีการสอนศิลปะโดยการเปรียบเทียบการสอนแนวเก่ากับแนวใหม่ ดังนี้

สอนวาดรูป,วาดรูป,วาดภาพ,ภาพวาด,สอนวาดรูปผู้ใหญ่,สอนวาดรูปบางใหญ่,สอนวาดรูปบางบัวทอง,เรียนวาดรูปฟรี,วิธีวาดรูป,สอนวาดรูปคน,สอนแต่งรูป,สอนวาดรูปง่ายๆ,การวาดรูป,ภาพวาดสวยๆ,สอนวาดรูปการ์ตูน,รูประบายสี,สอนวาดรูปลายเส้น,สอนวาดรูปดอกไม้,สอนวาดรูปเหมือน,สอนสีน้ำ,สอนสีน้ำมัน,สีอะคริลิค,สอนทำพอร์ท,ติวมัณฑนศิลป์,ติวนิเทศศิลป์ ,การทำ Portfolio ,Fashion,Computer Graphic,ติวออกแบบ,ติววาดรูป,เรียนวาดรูป,เรียนศิลปะ,เรียนศิลปะเด็ก,ติวความถนัด,ติวสีน้ำ,ติวเข้าศิลปากร,ติวเข้าลาดกระบัง,สอนวาดภาพ

วิธีการสอนศิลปะแนวเก่า วิธีการสอนศิลปะแนวใหม่
1. ครูคือศูนย์กลางของห้องเรียนที่เด็กทุกคนในชั้นจะต้องเชื่อฟัง เด็กเป็นศูนย์กลางในการเรียนรู้โดยส่งเสริมให้มีการแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ  ภายใต้ระเบียบข้อตกลงร่วมกัน
2. กำหนดเนื้อหาแน่นอนตายตัว เนื้อไม่แน่นอน  อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความสนใจของผู้เรียน
3. มีจุดมุ่งหมายเพื่อฝึกคนให้เป็นศิลปินหรือช่าง มีจุดหมายเพื่อจัดเตรียมกำลังคนให้มีคุณภาพโดยไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นช่างศิลป์  เด็กโตขึ้นอาจมีอาชีพอื่นๆ ก็ได้
4. วิธีการแสดงออกมุ่งเน้นให้เด็กทำตามตัวอย่างหรือผลงานของผู้อื่นที่ทำสำเร็จแล้ว ส่งเสริมให้เด็กแสงออกโดยวิธีการแบบแก้ปัญหา  จึงไม่นิยมทำตัวอย่างให้เด็กดูทุกครั้ง  นอกจากบางกรณีที่จำเป็นครั้งคราว
5. ยึดถือเอาผลงานเป็นเป้าหมายปลายทางในการเรียนรู้ ไม่ถือว่าผลงานเป็นสิ่งสำคัญแต่เน้นที่กระบวนการเรียนรู้ เช่น การสร้างเสริมศิลปะนิสัยมีรสนิยมที่ดี  ดังนั้นผลงานจึงเป็นเพียงผลพลอยได้เท่านั้น
6. มุ่งพัฒนาเด็กเฉพาะอวัยวะบางส่วนเท่านั้น เช่น ความแม่นยำในการใช้ประสาทตาและกล้ามเนื้อนิ้วมือ เป็นต้น มุ่งพัฒนาเด็กตลอดทั้งชีวิต
7. วัดและประเมินผลโดยครูเพียงฝ่ายเดียว วัดและประเมินผลโดยครูและนักเรียนร่วมกัน

การจัดการศึกษาของเด็กปฐมวัยโดยทั่วไปมีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมให้เด็กมีสุขนิสัยที่ดีเกี่ยวกับการกิน เล่น ออกกำลังกาย และพักผ่อนอย่างถูกต้อง    ปลูกฝังให้เด็กมีลักษณะนิสัยที่ดีงาม รู้จักควบคุมอารมณ์ของตนและอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้   เป็นการฝึกให้เด็กรู้จักใช้ประสาทสัมผัสให้สัมพันธ์กันได้อย่างเหมาะสม  รวมทั้งส่งเสริมให้เด็กรู้จักสังเกต มีไหวพริบ มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถแสดงออก ชื่นชมต่อความไพเราะและสิ่งสวยงามต่างๆ   เห็นได้ว่าจุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษาดังกล่าว   ประสบการณ์ที่ได้จากกิจกรรมศิลปะสามารถตอบสนองได้เป็นอย่างดี

ประเภทของกิจกรรมศิลปะสำหรับเด็ก

พีรพงศ์  กุลพิศาล[2]ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับประเภทของกิจกรรมศิลปะสำหรับเด็กว่าเป็นกิจกรรมที่ใช้ความรู้สึกประกอบกับวัสดุและเทคนิควิธีต่างๆ เพื่อผลิตเป็นผลงานออกมา  ดังนั้นการจัดประเภทของกิจกรรมทางศิลปะควรแบ่งตามลักษณะของผลงานที่ให้เด็กสร้างสรรค์เป็นหลักได้แก่

1. กิจกรรมศิลปะสองมิติ หมายถึง กิจกรรมทางศิลปะที่มุ่งให้เด็กสร้างสรรค์ภาพบนระนาบวัสดุที่แบนๆ เช่น กระจก กระดาษ ผ้า ผนังปูน ผืนทราย ฯลฯ  โดยใช้วิธีการวาดเส้น  ระบายสี พิมพ์หรือกดประทับให้เป็นสี  ปะติดด้วยกระดาษสี เป็นต้น   ซึ่งกิจกรรมประเภทนี้ได้แก่  การวาดภาพด้วยนิ้วมือหรือมือ  การพิมพ์ภาพด้วยเศษวัสดุต่างๆ   การวาดภาพด้วยดินสอสี  สีเทียน สีโปสเตอร์ เป็นต้น  ผลงานศิลปะประเภทนี้ดูแล้วแบนราบมีเฉพาะมิติของความกว้าง – ยาว

2. กิจกรรมศิลปะสามมิติ  หมายถึง กิจกรรมที่มุ่งเน้นให้เด็กสร้างสรรค์ภาพให้มีลักษณะลอยตัว นูน หรือเว้าลงไปในพื้นโดยใช้วัสดุและเทคนิควิธีต่างๆ ที่เหมาะสมกับวัสดุนั้นๆ เช่น การปั้นทราย ดินเหนียว ดินน้ำมัน กระดาษ แป้ง ฯลฯ  โดยประกอบวัสดุต่างๆ เข้าด้วยกัน  ขั้นตอนการทำงานในการจัดกิจกรรมประเภทนี้ไม่ควรมีขั้นตอนที่ซับซ้อน  ต้องสามารถทำได้อย่างรวดเร็ว ง่ายและไม่เป็นอันตราย  โดยวัสดุที่นำมาประกอบนั้นควรเป็นวัสดุประเภทกล่องกระดาษ เมล็ดพืช ลูกปัด เศษไม้ ใบไม้ สามารถใช้กาวติดได้ง่าย เป็นต้น

3. กิจกรรมศิลปะผสมผสานสองมิติ สามมิติ หมายถึง กิจกรรมที่ให้เด็กได้สร้างสรรค์ภาพโดยใช้วัสดุและเทคนิควิธีทางศิลปะทั้งสองมิติและสามมิติรวมกัน เช่น  ใช้สีโปสเตอร์ระบายรูปปั้น ดินเหนียวหรือแป้งที่แห้งแล้ว  หรือระบายสีตกแต่งกล่อง เป็นต้น

การจัดประสบการณ์ทางศิลปะทั้ง 3 ประเภทควรให้เด็กมีโอกาสร่วมกันทำงานเป็นกลุ่มด้วย  กลุ่มละประมาณ 3 – 5 คน  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของผลงาน  เช่น ให้เขียนภาพผนังด้วยสีเทียนตามเรื่องราวต่างๆ ที่เด็กวัยนี้คุ้นเคย  หรือให้ประกอบเศษวัสดุเป็นโครงสร้างต่างๆ ให้ก่อทรายเป็นรูปทรงต่างๆ เป็นต้น

สอนวาดรูป,วาดรูป,วาดภาพ,ภาพวาด,สอนวาดรูปผู้ใหญ่,สอนวาดรูปบางใหญ่,สอนวาดรูปบางบัวทอง,เรียนวาดรูปฟรี,วิธีวาดรูป,สอนวาดรูปคน,สอนแต่งรูป,สอนวาดรูปง่ายๆ,การวาดรูป,ภาพวาดสวยๆ,สอนวาดรูปการ์ตูน,รูประบายสี,สอนวาดรูปลายเส้น,สอนวาดรูปดอกไม้,สอนวาดรูปเหมือน,สอนสีน้ำ,สอนสีน้ำมัน,สีอะคริลิค,สอนทำพอร์ท,ติวมัณฑนศิลป์,ติวนิเทศศิลป์ ,การทำ Portfolio ,Fashion,Computer Graphic,ติวออกแบบ,ติววาดรูป,เรียนวาดรูป,เรียนศิลปะ,เรียนศิลปะเด็ก,ติวความถนัด,ติวสีน้ำ,ติวเข้าศิลปากร,ติวเข้าลาดกระบัง,สอนวาดภาพ

การจัดประสบการณ์ทางศิลปะให้กับเด็กปฐมวัย

การจัดกิจกรรมทางศิลปะให้กับเด็กปฐมวัย ควรตั้งจุดประสงค์ในการเรียนรู้ให้กับเด็กโดยให้สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็ก  จากนั้นจึงเป็นการกำหนดเนื้อหาและวางแผนกิจกรรมที่จะช่วยพัฒนาทักษะเด็กในด้านต่างๆ    แม้ว่าจะมีการเตรียมการในขั้นตอนนี้อย่างดี  แต่เด็กก็ยังเป็นเด็กที่มักมีนิสัยซุกซนอยากรู้อยากเห็นสิ่งรอบตัว  การสร้างแรงจูงใจให้อยากเข้าร่วมกิจกรรมจึงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้[3] เช่น อาจเป็นการเล่านิทานให้ฟัง  ฉายภาพยนตร์ให้ดู  เปิดเพลงให้ฟัง  พาไปดูของจริง  การให้เด็กได้ใช้อุปกรณ์ใหม่ๆ ฯลฯ ล้วนเป็นวิธีการที่เราต้องนำมาใช้ทั้งสิ้น  สิ่งเร้าหรือสื่อต่างๆ นี้มีส่วนช่วยให้เด็กได้พัฒนาทางด้านความคิดรวบยอดในแต่ละเรื่องเพื่อนำไปควบคุมเส้นที่ขีดเขี่ยออก  บางเรื่องจำเป็นต้องให้ประสบการณ์ตรงกับเด็กเพื่อสร้างความเข้าใจโดยไม่ต้องมีคำอธิบายมากมาย เช่น  เรื่องของสุนัข  กระต่าย  แมลง  ยานพาหนะ ฯลฯ  การให้เด็กได้เห็นของจริงและเปิดโอกาสให้เด็กพินิจพิเคราะห์อย่าละเอียดถี่ถ้วน  สัมผัสสิ่งนั้นด้วยมือ  ฟังเสียงจริงๆ ดมกลิ่นจริง  ประสบการณ์เหล่านี้จะช่วยพัฒนาความคิดรวบยอดของเด็กที่มีต่อสิ่งต่างๆ ได้ถูกต้องมากยิ่งขึ้น  แต่ ต้องคำนึงว่าเด็กเล็กในวัยนี้จะเรียนรู้ได้มากจากสิ่งของทีละอย่างซึ่งแตก ต่างจากเด็กโตหรือผู้ใหญ่ที่สามารถรวบรวมความคิดจากสิ่งของหลายๆ สิ่งได้ในเวลาเดียวกัน  ถ้ามีสิ่งที่ต้องเรียนรู้มากมายในเวลาเดียว  เด็กจะเกิดความท้อใจ สับสน

ในกรณีที่เด็กไม่รู้จะวาดรูปอะไรดี  ผู้สอนต้องทำหน้าที่เป็นตัวเร้า  วิธีที่นิยมใช้คือการแนะนำหัวข้อให้วาด เช่น  สุนัขของฉัน,  ครูของฉัน,  บ้านของฉัน, คุณแม่ทำอาหาร, พระจันทร์เต็มดวง,  รถของคุณพ่อ,  ของเล่นของฉัน,  เพื่อนที่โรงเรียน,  พระจันทร์เต็มดวง,  ปลาในตู้กระจก ฯลฯ

วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้สร้างงานศิลปะก็เป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กัน  เมื่อเด็กได้เห็นวัสดุอุปกรณ์ที่แตกต่างออกไป  ทำให้เขาอยากหยิบจับขึ้นสัมผัส  ทดลองใช้และเริ่มคิดหัวข้อในการสร้างงานศิลปะ

การเตรียมห้องเรียนศิลปะก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน  ห้องเรียนที่ดีควรมีโต๊ะเก้าอี้ที่ได้สัดส่วนเหมาะสมกับขนาดร่างกายของเด็กและสามารถเคลื่อนย้ายได้ตลอด  เนื่องจากบางกิจกรรมอาจจำเป็นต้องใช้โต๊ะมาต่อกันเพื่อให้ได้พื้นที่กว้างหรืออาจเป็นการใช้อุปกรณ์ร่วมกัน   จำนวนของโต๊ะเก้าอี้ควรเพียงพอกับจำนวนเด็ก    โต๊ะที่ใช้ปฏิบัติงานควรลบมุมให้เรียบร้อย  พื้นโต๊ะควรทำจากวัสดุคงทน เช่น โฟไมก้า หรือแผ่นโลหะเพื่อง่ายต่อการทำความสะอาด    ในห้องเรียนควรมีตู้เก็บอุปกรณ์หรือสื่อการสอนศิลปะโดยเฉพาะ  มีที่ตากผลงานเมื่อยังไม่แห้ง  และที่ติดตั้งแสดงผลงานที่ควรได้รับการชื่นชม  อ่างล้างมือสำหรับทำความสะอาด  สบู่  ผ้าเช็ดมือ  ถังขยะ ฯลฯ   กระดานไม้ขนาดเล็กสำหรับเด็กรองเขียนหรือเป็นฐานของงานปั้น  สุดท้ายคือผ้าคลุมกันเปื้อน เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กๆ ต้องพะวงกับการรักษาความสะอาดจนขาดสมาธิในการทำงาน

สอนวาดรูป,วาดรูป,วาดภาพ,ภาพวาด,สอนวาดรูปผู้ใหญ่,สอนวาดรูปบางใหญ่,สอนวาดรูปบางบัวทอง,เรียนวาดรูปฟรี,วิธีวาดรูป,สอนวาดรูปคน,สอนแต่งรูป,สอนวาดรูปง่ายๆ,การวาดรูป,ภาพวาดสวยๆ,สอนวาดรูปการ์ตูน,รูประบายสี,สอนวาดรูปลายเส้น,สอนวาดรูปดอกไม้,สอนวาดรูปเหมือน,สอนสีน้ำ,สอนสีน้ำมัน,สีอะคริลิค,สอนทำพอร์ท,ติวมัณฑนศิลป์,ติวนิเทศศิลป์ ,การทำ Portfolio ,Fashion,Computer Graphic,ติวออกแบบ,ติววาดรูป,เรียนวาดรูป,เรียนศิลปะ,เรียนศิลปะเด็ก,ติวความถนัด,ติวสีน้ำ,ติวเข้าศิลปากร,ติวเข้าลาดกระบัง,สอนวาดภาพ

กิจกรรมที่เหมาะสมสำหรับเด็กปฐมวัย

ตัวอย่างเนื้อหากิจกรรมศิลปะที่เหมาะสมสำหรับเด็กปฐมวัย ได้แก่[4]

1. การปูพื้นฐานให้เด็กมองเห็นความสวยงามของศิลปะ  กิจกรรมอาจประกอบด้วย

– ฝึกสังเกตรูปทรงต่างๆ

– ให้เด็กสัมผัสและเล่นสิ่งต่างๆ ที่มีรูปทรง สีสัน เหมือนกันและต่างกัน

– เด็กและครูช่วยกันจัดมุมห้องให้สวยงาม เพื่อให้เด็กสังเกตลักษณะของ รูปทรง เส้น สี พื้นผิวของวัสดุต่างๆ ที่เปลี่ยนไป

– ครูหาหรือจัดทำสิ่งประดิษฐ์สำเร็จรูปมาตกแต่งห้อง กระตุ้นให้เด็กรู้สึกอยากรู้อยากเห็นอยู่เสมอ

– เด็กและครูช่วยกันสะสมภาพต่างๆ ที่มีรูปทรง เส้น และสีที่สวยงามเพื่อใช้ตกแต่งห้องเรียน  หรือเพื่อให้เด็กฝึกการดูตามใจชอบ

2. การวาดภาพระบายสี

– ให้เด็กฝึกการลากเส้นตามจุดไข่ปลาที่ครูเตรียมไว้ให้เป็นรูปร่างง่ายๆ พยายามให้เส้นต่อเนื่องกัน

– ให้เด็กฝึกการใช้เส้นต่างๆ เส้นตั้ง  เส้นนอน  เส้นโค้งคลื่น เส้นก้นหอยฯ โดยฝึกวาดในกรอบที่กำหนดไว้  พยายามให้เส้นต่อเนื่องกัน

– วาดภาพระบายสีด้วยการใช้เส้นประเภทต่างๆ

– ให้เด็กวาดภาพบนกระดาษ กระดาน กระบะทราย หรือวัสดุที่ต่างออกไปจากที่เคยวาดในชีวิตประจำวัน  ให้เด็กสังเกตผลที่ได้จากการวาด

– ขณะที่เด็กกำลังวาดอาจเปิดเพลงที่เด็กชอบเพื่อสร้างบรรยากาศ

– ครูกำหนดรูปทรงง่ายๆ บนกระดาษให้เด็กต่อเติมและระบายสีโดยอิสระ

– เมื่อวาดเสร็จให้เด็กตั้งชื่อผลงานและเล่าเรื่องประกอบภาพวาด

3. การทดลองเกี่ยวกับสี

– แนะนำสีชนิดต่างๆ อย่างง่ายๆ เช่น สีเทียน สีไม้ สีโปสเตอร์ และให้เด็กได้ทดลองใช้   โดยสีโปสเตอร์ครูผู้สอนต้องดูแลอย่างใกล้ชิด

– ให้ละเลงสีสีเดียวบนกระดาษขนาดใหญ่โดยใช้อวัยวะได้ไม่จำกัด เช่น ฝ่ามือ  เท้า ท่อนแขนฯ  และเล่าเรื่องจากผลงานที่เสร็จแล้ว

– ให้ทดลองหยดสีโปสเตอร์ทีละหยด โดยเริ่มจากการใช้ สี จำนวน 1 สี 2 สี ผสมกันให้เด็กฝึกสังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงของสี

– ให้เด็กทดลองเป่าสีเข้าหากันหลายๆ สี  ฝึกสังเกตสีที่ผสมกัน

– นำกระดาษเนื้อบาง เช่น กระดาษสามาตัดให้เป็นสี่เหลี่ยมพับทบไปมา จุ่มปลายด้านหนึ่งลงกับสีสีหนึ่ง  และนำมาจุ่มซ้ำกับสีอื่นๆ ให้เด็กฝึกสังเกตการณ์เปลี่ยนแปลง

– หยดสีน้ำมันลงในอ่างน้ำดูการเคลื่อนที่และการผสมกันของสี

– นำกล่องรองเท้ามาใส่ลูกแก้วกลมที่ทาสีแล้วหลายๆ สี  ปล่อยลูกแก้วให้กลิ้งไปมาในกล่องรองเท้า  ให้เด็กฝึกสังเกตสีที่ทับกันไปมา

– ทดลองผสมแม่สีทั้ง 3 สีให้เด็กดู

4. การทำภาพพิมพ์

– ให้เด็กฝึกสังเกตสิ่งที่นำมาใช้เป็นแม่พิมพ์ เช่น ใบไม้ วัสดุที่มีพื้นผิวแตกต่างกัน

– ให้เด็กพิมพ์ภาพด้วยสีและวัสดุต่างชนิดกัน

– ให้เด็กทดลองใช้อวัยวะของตนเองในการเป็นแม่พิมพ์ เช่น นิ้วมือ  กำปั้น ฯลฯ

– นำภาพพิมพ์ที่เด็กทำเสร็จแล้วไปตากให้แห้งและให้เด็กต่อเติมภาพตามจินตนาการ

5. การปั้น

– นำวัสดุที่ใช้ในการปั้น เช่น ดินน้ำมัน  ดินเหนียว ฯลฯ ให้เด็กสัมผัส บีบ นวด

– ปั้นรูปทรงเรขาคณิตง่ายๆ  นำมาประกอบกันเป็นรูปร่างอื่นๆ เช่น หมู ทีวีฯ

– ให้เด็กปั้นรูปทรงอิสระตามจินตนาการ  และเล่าเรื่องให้สอดคล้อง

– นำวัสดุที่ใช้ปั้นมาแผ่ให้เป็นแผ่นเรียบ  นำวัสดุชนิดอื่นมากดทับให้เกิดเป็นรอย เช่น เหรียญบาท  กุญแจฯ

6. การพับ ฉีก ปะ

– ให้เด็กๆ พับกระดาษเป็นรูปทรงง่ายๆ ตามที่ครูบอก

– ให้เด็กพับหรือม้วนกระดาษ  หรือฉีกเศษผ้าให้เป็นแถบยาว นำมาขยุ้มหรือต่อเป็นรูปทรงและภาพต่างๆ

– ให้เด็กฉีกกระดาษเป็นรูปร่างรูปทรงง่ายๆ   นำมาปะติดลงบนวัสดุอื่นหรือรูปภาพอื่นตามใจชอบ  แล้วให้เด็กเล่าความหมายของภาพนั้น

– ครูเตรียมตัดรูปอวัยวะบนใบหน้าจากทั้งของคนและสัตว์จากนิตยสารต่างๆ แล้วให้เด็กเลือกไปปะติดบนใบหน้าอื่นๆ

7. การประดิษฐ์

– ให้เตรียมสิ่งของเหลือใช้มาจากบ้าน  สาธิตสมมติการใช้สิ่งของนั้นๆ หน้าชั้นเรียน

– นำสิ่งของมาประกอบกันตามจินตนาการ  เน้นให้ใช้วัสดุทุกอย่างเท่าที่มีและประกอบให้เป็นรูปทรงที่หลากหลายมากที่สุด

– ฝึกเด็กให้ใช้สิ่งของร่วมกันและทำงานเป็นกลุ่ม

ตัวอย่างกิจกรรมดังกล่าวเป็นแนวทางในการนำเสนอการจัดประสบการณ์ทางศิลปะให้กับเด็กปฐมวัย  โดยการออกแบบกิจกรรมต้องคำนึงถึงการที่เด็กจะได้เป็นผู้ริเริ่มในการทำงาน  มีอิสระที่จะจินตนาการถึงสิ่งใดก็ได้  ทั้งนี้การจัดประสบการณ์ทางศิลปะให้กับเด็กปฐมวัยตอนต้น ไม่ควรแยกตัวกิจกรรมออกมาอย่างเด่นชัด แต่ควรให้เด็กเลือกทำเองตามความสนใจเฉพาะตนหรือเฉพาะกลุ่ม  จึงจำเป็น ต้องมีครูพี่เลี้ยงหลายๆ คนคอยช่วยดูแล   สำหรับเด็กปฐมวัยตอนปลายที่มีอายุระหว่าง 5 – 6 ปี ควรจัดกิจกรรมทางศิลปะแยกออกมาเด่นชัดอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง กล่าวคือครูควรมีการจัดชั่วโมงศิลปะให้กับเด็กบ้างอย่างมีกระบวนการและจุดหมายที่ชัดเจนว่าต้องการให้เด็กมีความรู้อะไร หรือมีประสบการณ์ทางศิลปะอย่างไร กิจกรรม ไม่ควรยากจนเกินไปเพราะเมื่อเด็กได้พยายามอย่างเต็มความสามารถแล้วงานยังไม่ สำเร็จจะทำให้เด็กรู้สึกท้อแท้และเบื่อหน่ายในกิจกรรมต่อๆ ไป

การจัดประสบการณ์ทางศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัยตอนปลายควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้[5]

1. ผู้สอนควรวางแผนล่วงหน้าตลอดเทอมว่าแต่ละสัปดาห์จะให้เด็กทำกิจกรรมอะไร  ตาม ลำดับความยากง่ายและความซับซ้อนของชิ้นงาน

2. จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ สภาพห้องเรียนและวิธีสอนให้สอดคล้องกับแผนที่วางไว้

3. ระหว่างที่ให้เด็กทำกิจกรรม ควรระลึกอยู่เสมอว่ากิจกรรมที่จัดนั้นเปิดโอกาสให้เด็กได้ใช้ประสบการณ์ตรงจากสิ่งแวดล้อมนอกห้องเรียนเพียงพอหรือไม่   ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ให้เด็กต้องทำแล้วผลงานออกมาเหมือนกันทั้งห้อง  เพราะการสร้างงานศิลปะคือการแสดงออกของการรับรู้เฉพาะตน  โปรดจำไว้ว่าพฤติกรรมการทำงานศิลปะของเด็กแต่ละคนต่างกัน  บางคนชอบนั่งทำงานที่โต๊ะ  บางคนขอบนอนกับพื้น  บางคนชอบนั่งทำงานนอกห้องเรียน  ครูผู้สอนควรให้อิสระอย่างเต็มที่เพราะถ้าเด็กเพลินเพลินและมีสมาธิกับการทำงานจะส่งผลให้เกิดพัฒนาการในทุกๆ ด้าน  นอกจากนี้ควรเปิดโอกาสให้เด็กได้ฝึกทำงานเป็นกลุ่ม และร่วมประเมินผลงานหรือแสดงความคิดเห็นผลงานของเพื่อร่วมชั้นเรียนด้วย

4. ให้ผู้ปกครองมีส่วนช่วยในการเสริมสร้างประสบการณ์ทางศิลปะขณะที่เด็กอยู่ที่บ้านด้วยเช่น มีการกำหนดเรื่องล่วงหน้าแต่ละสัปดาห์ว่าจะมีกิจกรรมเรื่องใด  วัสดุอุปกรณ์และวิธีการทำงานเป็นอย่างไรฯ  การเตรียมการเหล่านี้จะช่วยกระตุ้นให้เด็กอยากรู้อยากเห็น เกิดจินตนาการและสร้างผลงานได้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

5. มีความเมตตาและหวังดีต่อเด็กทุกคนอย่างเท่าเทียมกันโดยการแสดงความรักและความห่วงใยอยู่เสมอ  พยายามใช้คำพูดกระตุ้นจินตนาการของเด็กระหว่างการทำงานเสมอ

จากที่กล่าวมาแล้วจะเห็นได้ว่าการจัดประสบการณ์ทางศิลปะให้กับเด็กปฐมวัยไม่ใช่เรื่องยาก  แต่ผู้สอนต้องเข้าใจถึงพัฒนาการและความพร้อมของเด็ก  โดยยอมรับว่าเด็กแต่ละคนมีพัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญาไม่เท่ากัน  กิจกรรมศิลปะที่เปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้จากการสัมผัส  การปฏิบัติและการสร้างสรรค์จะเป็นตัวกระตุ้นให้เด็กมีพัฒนาการเพิ่มขึ้นในทุกด้าน  ทั้งนี้เราต้องไม่ลืมว่าผลของการจัดประสบการณ์ทางศิลปะมิได้ประเมินที่ตัวศิลปะว่าสวยงามตามการรับรู้ของผู้ใหญ่หรือไม่  หากประเมินด้วยรอยยิ้มอันเกิดจากความสุขที่ได้แสดงออกในงานศิลปะต่างหาก

เนื้ออ่อน  ขรัวทองเขียว

ขอขอบคุณภาพประกอบจากน้องๆ โครงการจินตศิลป์

เอกสารอ้างอิง

ชัยณรงค์  เจริญพานิชย์กุล. กิจกรรมศิลปะสำหรับเด็กอนุบาล. กรุงเทพฯ : แปลนพับลิชชิ่ง, 2532.

พีรพงศ์  กุลพิศาล. สมองลูกพัฒนาได้ด้วยศิลปะ . กรุงเทพฯ : เคล็ดไทย, 2545.

เลิศ  อานันทะ, “แนวคิดใหม่เกี่ยวกับศิลปะเด็ก,”การแสดงศิลปะเด็กแห่งประเทศไทยครั้งที่ 3 พ.ศ.2525 . กรุงเทพฯ : ไม่ปรากฏที่พิมพ์, 2525.

วิรุณ  ตั้งเจริญ. ศิลปศึกษา . กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2539.


[1] เลิศ  อานันทะ,”แนวคิดใหม่เกี่ยวกับศิลปะเด็ก,”การแสดงศิลปะเด็กแห่งประเทศไทยครั้งที่ 3 พ.ศ. 2525 (กรุงเทพฯ : ไม่ปรากฏที่พิมพ์, 2525)

[2] พีรพงศ์  กุลพิศาล, สมองลูกพัฒนาได้ด้วยศิลปะ (กรุงเทพฯ : เคล็ดไทย, 2545), หน้า 38.

[3] ชัยณรงค์  เจริญพานิชย์กุล, กิจกรรมศิลปะสำหรับเด็กอนุบาล (กรุงเทพฯ : แปลนพับลิชชิ่ง, 2532), หน้า 2 – 7

[4] ดัดแปลงจาก, วิรุณ  ตั้งเจริญ, ศิลปศึกษา (กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2539), หน้า 36 – 42.

[5] พีรพงศ์ กุลพิศาล, หน้า 40 – 42.

 

ที่มา http://mblog.manager.co.th/leknuaon/th-68734/