การวาดรูปสีน้ำดอกบัว
วาดรูปสีน้ำดอกบัวกันครับ ซับซ้อนเรื่องกลีบ การ
ร่างจึงสำคัญ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าต้องเหมือน
ทุกกระเบียดนิ้ว ดูภาพรวมเช่นเคยครับ กลีบไหน
เบี้ยวดูแปลกๆ เราอาจแก้ด้วยการเพิ่มหรือลดบาง
กลีบได้ รูปทรงจากธรรมชาติจึงพลิกแพลงได้ค่อน
ข้างมาก
หลังจากขึงกระดาษเสร็จแล้ว เริ่มร่างภาพครับ เช่นเคย เริ่มจากมองภาพรวมทั้งหมดก่อน
จากนั้นวางตำแหน่งของวัตถุชิ้นต่างๆ(สีแดง) ในที่นี้ผมใช้ลักษณะวงรีเป็นส่วนใหญ่ เมื่อได้
ภาพรวมแล้ว ตีแกนที่ดอกบัว(สีฟ้า) เพราะมันเอียงอยู่ เวลาใส่รายละเอียดในขั้นตอนต่อไป
จะได้ไม่หลงวาดเป็นดอกบัวตรงๆซะงั้น
จากนั้นแบ่งกลีบต่างๆคร่าว (สีเหลือง) หลังจากขั้นตอนนี้แล้วเราก็จะสามารถแยกกลีบย่อยๆ
ได้ง่ายขึ้น ร่างเสร็จแล้วพร้อมลงสีครับ ร่างด้วยสีไม้จะได้ไม่สกปรกมาก
ต้องบอก ก่อนว่าภาพนี้ผมต้องการปรับโทนสีใหม่ ไม่เหมือนกับต้นแบบ คือตั้งใจให้ภาพดู
เบาๆ ส่วนที่เข้มที่สุดของภาพจึงถูกลดทอนน้ำหนักลงมากเลยทีเดียว
เริ่ม จากใช้เทคนิคเปียกบนเปียก ผมจะสร้างบรรยากาศจากสีของแสง (ม่วง คราม น้ำเงิน
เขียวเหลือง แสด แดง สีรุ้งนั่นแหละครับ)ระบายน้ำด้วยภู่กันเบอร์ใหญ่ ไปให้ทั่วทั้งแผ่น
ผสมสีม่วงน้ำเงิน เขียว +เหลือง ส้ม ชมพู ระบายลงไปทั้งภาพ ปล่อยให้สีวิ่ง
สีที่ลงทั้งหมดเป็นสีจางๆเท่านั้นนะครับ ถ้าลงหนักมือเกินไป สีที่ได้จะเข้มจนเราลงสีวัตถุจริง
จะหมองไปเลยครับ
ขั้นตอนแรกของการลงสีเสร็จแล้วครับ
สังเกตว่าตรงช่วงของดอก ผมลงบางมากๆ เพราะต้องการให้สีสว่าง จึงลงบางๆเท่านั้น แล้ว
รอทั้งหมดให้แห้งครับ
เทคนิคเปียกบนเปียก ยากสำหรับการควบคุมเทคนิค นะครับ ลงน้ำให้ชุ่มมากซักหน่อย เพื่อให้เรามีเวลาในการตัดสินใจมากขึ้น กระดาษที่ผมใช้คือ canson แต่เป็นรุ่นหนาซักหน่อย ซึ่งแห้งเร็วอยู่เหมือนกัน ที่สำคัญผมสังเกตเห็นว่าคนที่ฝึกใหม่หลายๆคน ขณะที่วาดเหมือนใจลอยคิดเรื่องอื่นอยู่ ไม่ได้วางแผนก่อนลงมือ
แบบนี้โอกาสเสียมีมากครับ มีสติและสมาธิครับ สีน้ำพลาดแล้วพลาดเลย
เก็บรายละเอียดของด้านหลังครับ พื้นน้ำใช้ ม่วงน้ำเงิน เบรกด้วยส้มครับ ตรงนี้ใช้เทคนิค
เปียกบนแห้งครับ ภาพนี้ใช้สีน้ำตาลน้อยมาก
เก็บรายละเอียดที่ตัวดอกครับ ใช้เทคนิคตามที่นี่ก็ได้ครับ
ใกล้เสร็จแล้ววว อันนี้ถ่ายรูปมาแล้วสีเพี้ยนครับ
ถึงตรงนี้ดูภาพรวม(อีกแล้ว)จะแก้ตรงไหน จะลด จะเพิ่มทั้ง ด้านหน้า ด้านหลัง ตรงนี้ล่ะครับ
ทำได้เลย