การวาดรูปสีอะครีลิคทุ่งดอกบัวตอง
เป็นชิ้นที่สองแล้วนะครับ สำหรับ step by step งานนี้ยากขึ้นกว่าเดิม โดยเฉพาะกลุ่มของดอกไม้ด้านหน้า ภาพต้นแบบได้มาจาก
http://www.ezythai.com แต่ผมเอามาตัดต่อนิดหน่อย ต้องขออภัยท่านเจ้าของภาพด้วยนะครับ ผมวาดภาพนี้ในขนาด 30×40 cm. เช่นเดิม สีที่ใช้มีทั้ง galleria ,rowney,josanja,artcreation,ศิลปากรประดิษฐ์ คือมั่วไปหมดนั่นแหละครับ
จะบอกว่าเป็นช่วงทดลองสีแต่ละยี่ห้อก็คงใช่อันไหนเนื้อสีบางหน่อยก็เอามารองพื้น อันไหน
เนื้อสีดีหน่อยก็เอาไว้เน้นช่วงสุดท้ายครับ
1.เริ่มร่างรูปครับ ผมแบ่งกึ่งกลางทั้งแนวตั้ง และแนวนอนของภาพก่อนครับ จะได้รู้
ตำแหน่งได้ง่ายขึ้น
-จาก นั้นเริ่มแบ่งเส้นของภูเขาแต่ละกลุ่ม ออกเป็นกลุ่มใหญ่ ยังไม่ต้องสนใจรายละเอียด
นะครับ ดอกไม้กลุ่มข้างหน้า วงเป็นโครงสร้างรวมๆไว้เช่นกันครับ ผมไม่วาดรถนะครับ
อยากได้อารมณ์แบบธรรมชาติ
– เมื่อวางภาพรวมไปแล้วค่อยใส่รายละเอียดครับ ซึ่งวิธีการร่างก็ไม่ตายตัว แต่ละคน
จะฝึกจนชำนาญ แล้วหาจุดที่เราถนัดจนเจอ เพราะฉะนั้นอย่าไปซีเรียสว่าต้องแบบนี้
เท่านั้นนะครับ เพียงแต่หลักรวมๆสำหรับมือใหม่ก็คือการร่างคร่าวๆแล้วค่อยเก็บราย
ละเอียดไป พร้อมๆกัน
-ร่างภาพด้วยสีไม้เช่นเคยครับ พอร่างเสร็จผมก็ใช้สีอะครีลิคสีน้ำเงิน ผสมน้ำให้เขียน
ง่ายๆ ตัดเส้นทุกส่วนเลยครับ จะได้มองเห็นได้ชัดๆ
2.เริ่ม ลงสีท้องฟ้ามาก่อนครับ(เพราะรู้สึกว่าคลุมโทนสีได้ง่ายดี แต่ใครจะวาดจากข้าง
หน้าก่อนก็ได้นะครับ) ผมใช้ cerureane blue+violet+ขาว แบ่งผสมเป็น 2 ช่อง ช่องแรก
สีขาวมากๆ อีกช่องสีขาวน้อยลง จะใช้ระบายโทนเข้มและอ่อนของท้องฟ้า
– ส่วนที่เป็นเมฆ ผมเว้นไว้ครับ
3.ผสมสีขาวให้มากขึ้น ระบายในส่วนของเมฆครับ จะเห็นว่าผมไม่เก็บรายละเอียดเลย
ลงเป็นแผ่นๆให้เห็นมิติคร่าวๆครับ
-ใช้ cerureane blue+violet+ขาวเล็กน้อย ระบายภูเขาระยะไกลครับ
-ผสม ขาวแต่น้อยลงอีก ระบายในภูเขาที่อยู่ใกล้เข้ามาอีก การระบายตรงส่วนนี้และที่
ผ่านมา จะผสมน้ำให้ระบายง่ายๆนะครับ แล้วสีก็จะเข้าไปตามซอกของผ้าใบได้ง่ายขึ้นด้วย
-อย่าลืมหรี่ตามองแสงด้วยนะครับ(ดูรายละเอียดได้ที่step by step สีอะครีลิคทิวทัศน์ทะเลครับ)
4.พอ มาถึงช่วงภูเขาข้างหน้า ผมมองภาพต้นแบบแล้วรู้สึกว่ารายละเอียดยิบไปหมด
ก็เลยใช้วิธี เอาสีน้ำเงิน phthalo blue+burnt sienna แต่ใส่น้ำเล็กน้อย ระบายในส่วนเข้ม
ของภาพ จะทำให้เห็นภาพโดยรวมได้ง่ายขึ้น(อันนี้สำหรับผมนะครับ)
5.ใช้ สีเขียว phthalo green+yellow ochre ระบายภูเขาครับ ภูเขาส่วนหน้า ใส่ yellow
ochre มากขึ้นอีกครับ โดยลดหรือเพิ่มความเข้มของสีสลับไปมาบ้างบางส่วนโดยใช้น้ำ
ครับ บางส่วนระบายข้น บางส่วนระบายบาง
6.ระบายส่วนหน้าด้วยสีเขียวที่ผสมแล้วเหมือนข้อ 5.ตามด้วย yellow ochre ที่ดอกไม้ด้านเงา และสีเหลืองล้วนในส่วนที่ถูกแสงพื้นถนนผมลงให้ออกเทาๆไปก่อนครับ
7.มา ถึงตรงนี้เรารองพื้นเสร็จแล้วครับ การรองพื้นจะทำให้เราเห็นภาพรวมของสีและน้ำ
หนักของภาพได้ง่ายขึ้นครับ ถ้าเราผสมสีตอนรองพื้นได้ใกล้เคียงต้นแบบ รอบที่สองที่
เราจะเก็บรายละเอียดก็จะทำได้ง่ายมากขึ้น
-เริ่มเก็บราย ละเอียดจากเมฆ ครับ โดยใช้วิธีปัดแห้งเช่นเดิม (ดูรายละเอียดได้ที่step by
step สีอะครีลิคทิวทัศน์ทะเลครับ) ใช้สีฟ้าม่วง+ขาวมากๆครับ ปัดรอบแรก แล้วซ้ำไป
เรื่อยๆจนได้สีที่ต้องการ อาจเพิ่มสีขาวไปอีก สุดท้ายใช้ ขาว+ส้มเหลือง เป็นสีของแสง
-ส่วนของภูเขา ระยะถัดมาใช้สีฟ้าม่วง+ขาว ใส่รายละเอียดเข้าไป ซึ่งก็คือส่วนที่สว่างนั่น
เอง ไล่มาเรื่อยๆจนถึงระยะหน้า ก็ให้เพิ่มสีเขียวเข้าไปด้วย หลักก็คงเป็นการแบ่งระยะครับ
อย่าลืมดูภาพรวมนะครับ ถอยออกมาดูภาพรวมซัก 3-4 ก้าว อย่าก้มหน้าก้มตาวาดอย่าง
เดียว
-อีกวิธีที่ผมใช้เป็นประจำคือ เวลาวาดผมจะเอาภาพที่เรากำลังวาดอยู่ไปส่องกับกระจกเงา
จะทำให้เราเห็นภาพที่เราวาดกลับด้าน ตรงนี้แหละครับที่จะทำให้เราเห็นมุมมองของภาพ
ที่แปลกตา ทำให้เราเห็นข้อผิดพลาดเล็กๆน้อยๆและแก้ได้ถูกจุด ตรงไหนเบี้ยว ตรงไหน
เพี้ยน มองได้ง่ายมากขึ้นครับ ที่เรามองแบบปรกติไม่เห็นอาจเป็นเพราะเราชินตา กับภาพ
ที่เราวาดมาตั้งแต่ต้นจึงมองไม่เห็นข้อด้อยครับ
8.เก็บ รายละเอียดในชั้นต่อมา ต้องดูต้นแบบเยอะหน่อยครับ(ถ้าอยากให้เหมือน)สีเขียว
ที่เป็นรายละเอียดบน ภูเขาก็ใช้phthalo green+ขาว แตะเป็นส่วนของแสง บางส่วนใช้ฟ้า
ม่วง+ขาว มาถึงภูเขาลูกถัดมาทีอยู่หลังถนน ตรงนี้เราใช้yellow ochre+ขาว เล็กน้อย แตะๆไปเรื่อยๆโดยเฉพาะตรงส่วนด้านบนที่ถูกแสงมาก ตรงนี้จะสว่างมากหน่อย
9.ภูเขาสีเขียวด้านขวาบน เก็บรายละเอียดโดยใช้ phthalo green+yellow ochre+ขาวบ้างในบางส่วน
-ทุ่งดอกไม้ที่อยู่หน้าถนนทั้งหมด ใช้yellow ochre+ขาว แตะในส่วนที่ถูกแสง
10.มา ที่ทุ่งดอกไม้ด้านหน้าสุด หรี่ตามองแสง แล้วจับลักษณะครับ แล้วเพิ่มเขียวเข้มอีก
ระดับนึงเข้าไป เพื่อให้ภาพมีมิติมากขึ้น ยิ่งมีน้ำหนักที่มาก และหลากหลายก็ยิ่งเพิ่มมิติให้
ภาพดูน่าสนใจ โดยเฉพาะวัตถุที่อยู่ด้านหน้าควรเน้นให้เด่นครับ
-ตั้งแต่ขั้นตอนเก็บรายละเอียด ผมใช้สีที่ข้นตลอดครับ คือเติมน้ำเล็กน้อย หรือไม่เติมเลย
11.ใช้ เขียวอ่อน เขียนลักษณะของใบไม้ครับ ตรงนี้เป็นส่วนที่ยากสำหรับมือใหม่ ให้มอง
ลักษณะของดอกไม้ และเวลาลงน้ำหนักพู่กันให้กดหนักบ้างเบาบ้าง ทับซ้อนกันบ้าง ใบ
เล็กบ้าง ใหญ่บ้าง จะทำให้เกิดจังหวะของใบไม้ที่ไม่เกร็งจนเกินไป อาจลองบนกระดาษ
ก่อนลงมือจริงครับ
12.หลัง จากลงใบไม้แล้ว ก็มาต่อกันที่ดอกบัวตองครับ ใช้yellow ochre ลงดอกในส่วน
ที่อยู่ในเงา เกสรของดอกที่เด่นก็เริ่มเก็บรายละเอียดครับ
-ใช้ สีเหลืองล้วน เน้นส่วนที่ถูกแสงของดอก และเช่นเดียวกับใบที่มีทั้งดอกเล็กดอกใหญ่
ดอกเป็นกลุ่ม ทับซ้อนกันบ้าง จะเห็นว่าสีเหลืองเป็นสีที่อ่อนและบาง ลงรอบเดียวไม่
สามารถทำให้กลบสีเข้มได้ เดี๋ยวเราลงส่วนอื่นแล้วจะวนมาอีกรอบครับ
13.เก็บ รายละเอียดดอกข้างหน้าโดยใส่ใจกับแสงเงาให้มากขึ้น ในภาพผมใช้
yellow ochre+burnt sienna ระบายลงไป แต่จังหวะนี้ผมลงเข้มเกินไป เดี๋ยวเรามาแก้อีก
ทีครับ
14.แก้ ส่วนที่เข้มมากเกินไปโดยใช้ yellow ochre ปัดลงไปครับ ส่วนสีเหลืองล้วนที่ลง
ไปแล้วจม ก็ทับอีกรอบครับสีก็จะสดใสกว่าเดิมครับ ดอกที่เป็นจุดเด่น ผมซ้ำไปมาอีก
ประมาณ 2 รอบครับ ทั้งส่วนแสงและเงา
-มา ถึงตรงนี้ใกล้เสร็จแล้วครับเหลือภาพรวม ซึ่งผมรู้ตั้งแต่ตอนเริ่มเก็บรายละเอียด แล้ว
ครับว่ายังไม่พอใจเท่าไหร่ แต่ยังไม่ลงมือแก้ เพราะอยากเห็นภาพรวมก่อนครับ จะได้
ไม่ต้องแก้ซ้ำไปซ้ำมา
15.อันนี้เป็นภาพตอนเสร็จเรียบร้อยแล้ว
-ซึ่งผมวนกลับไปแก้ไขตั้งแต่เมฆ ผมลงซ้ำเพื่อให้สว่างมากขึ้น
-ภูเขาไกลๆสียังหม่นอยู่ และออกม่วงมากไป ก็เลยใช้สีฟ้า ปัดๆลงไป
-ภูเขาหลังถนน เพิ่มโทนสว่างอีกนิด ก็จะดูมีรายละเอียดมากขึ้น
-แต่งรูปของถนนให้ชัดเจนมากขึ้น
-ภูเขาสีเขียวขวาบน เพิ่มม่วงน้ำเงินเข้าไป จะได้ดูมีบรรยากาศของภาพรวม
-เนินเขาด้านหน้าถนน เพิ่มโทนสว่างเช่นกันครับ
-ดอกไม้ กลุ่มข้างหน้าสุด ดอกใหญ่ ใช้เหลืองผสมขาวเน้นอีกทีครับ และไม่ลืมที่จะเพิ่ม
ม่วงลงไปที่ทุ่งดอกไม้กลุ่มหน้า โทนสีของภาพโดยรวมจะได้กลมกลืนกันครับ
สรุป
-เทคนิค ที่ใช้ในการทำให้สีกลมกลืนกันยังคงใช้วิธีปัดแห้งเหมือนเดิม ซึ่งอันนี้ใครจะ
ใช้วิธีอื่นก็ตามสะดวกครับ อยู่ที่ว่าใครถนัดแบบไหน
-สังเกตว่า ตอนรองพื้นผมจะเลือกระบายน้ำหนักเข้มและกลางเป็นส่วนใหญ่ น้ำหนัก
อ่อนมีบ้าง ซึ่งถ้าเรารองพื้นน้ำหนักที่ว่า ได้ใกล้เคียงมากเท่าไหร่ ตอนเก็บรายละเอียด
เราเติมเพียงแค่ส่วนที่ถูกแสง ก็จบงานได้เร็วมากขึ้น
-ถ้าต้องการให้สีสดใส อย่าเกลี่ยสีไปมามากเกินไป
-ถ้าต้องการเน้นในส่วนที่เป็นแสง ผสมน้ำมากเกินไป ลงไปแล้ว พอสีแห้ง สีมักจะจม
หายไป ต้องลงใหม่อีก จะให้ดีลงสีข้นๆหน่อยครับ
อันนี้เป็นวิธีหรี่ตามองแสงเงา(ดูรายละเอียดได้ที่step by step สีอะครีลิคทิวทัศน์ทะเลครับ)
ภาพที่ 1.คือต้นฉบับนะครับ
ภาพที่ 2.หรี่ตามองแสงจะเห็นเป็นแบบนี้ครับ
ภาพที่ 3.พยายามกำหนดน้ำหนักและสีให้แบ่งเป็นพื้นที่ชัดเจน โดยที่ยังไม่ต้องสนใจราย
ละเอียดใดๆทั้งสิ้น
เทคโนโลยีทำให้เราเห็นภาพรวมได้ง่ายขึ้นครับ แต่เวลาวาดจริงๆ มองเอง ตัดสินใจเอง
สนุกกว่าเยอะคร้าบ