การวาดรูปสีอะครีลิคทิวทัศน์ต้นไม้
งานนี้มาเน้นหนักที่การวาดรูปต้นไม้เป็นกลุ่มเพื่อฝึกการแยกระยะ และการวาดรูปน้ำให้ใสเริ่มจากดูต้นแบบก่อนครับ
1.ผมเลือกที่จะรองพื้นทั้งภาพด้วยสีเขียวกลางๆ โดยใช้ Pthalo green +Burnt sienna+
Yellow ochre+ขาว ทาไปประมาณ 2 รอบครับ รอให้แห้ง หรือใครจะเลือกเขียนจากพื้น
ขาวๆก็ไม่ว่ากันครับ แล้วแต่ความถนัด
เห็นกลุ่มของต้นไม้แล้วอย่าพึ่งตกใจครับ มาดูกันเลยว่าร่างยังไง
2.ผมแบ่งภาพเป็น 4 ส่วนก่อน(สีแดง) พอได้ตรงนี้แล้วมองกลุ่มของต้นไม้ แบ่งเป็นกลุ่ม
ใหญ่ๆ ร่างขึ้นมาโดยไม่ต้องไปสนใจรายละเอียด อันนี้เป็นหลักสำคัญในการร่างรูปเลยนะ
ครับ ฝึกให้ติดเป็นนิสัย แล้วจะทำให้ทำงานได้ง่ายขึ้น ตามด้วยส่วนต่างๆจนครบครับ
ใส่ใจในการร่างภาพก็จะออกมาสวย โดยเฉพาะตรงเส้นสีเหลือง ลำธารของเราจะดูดีหรือ
แปลกก็ตรงนี้ จากนั้นจะเพิ่มรายละเอียดรอบสอง ให้เห็นมากขึ้นก็ได้ครับ อันนี้แล้วแต่นะ
ครับถ้ากลัวพลาดตอนลงสี ก็ร่างให้ละเอียดหน่อย จากนั้นตัดเส้นด้วยสีครับ เวลาลงสีชั้น
ต่อไปเราจะได้เห็นเส้นร่าง
3.ลงสีท้องฟ้าUltramarine+ขาวมากๆ รวมไปถึง แสงที่สะท้อนลงน้ำ
4.เริ่ม ลงกลุ่มต้นไม้ระยะไกลสุด จากต้นแบบผมแยกระยะให้ดูไกลกว่าต้นแบบ โดยหลัง
จากผสมเขียวแล้วใส่ขาวมากหน่อยแล้วทาลงไป(บังเอิญว่าผมผสมสีรองพื้น ทีแรกมาก
หน่อย ก็เลยเหลือสีเขียวเยอะมากพอที่เราจะเอามาใช้วาดและผสมในส่วนอื่นๆ) หลังจาก
นั้นใช้สีฟ้าที่เราทำท้องฟ้ามาเกลี่ย บางๆให้เหมือนกับว่า ต้นไม้กลุ่มนี้อยู่ไกลจนมีสีของ
บรรยากาศมาปกคลุมมากๆหน่อย
5.ถัดมาที่ต้นไม้กลุ่มที่ใกล้เข้ามาอีก สีเขียวมีความเข้มขึ้น แต่ก็ยังคงมีสีบรรยากาศ
Ultramarine มาผสมบ้าง
6.ถัดมาอีกครับเพิ่มความเข้มไปแล้ว เอาเขียวเข้มเดิมมาใช้ในกลุ่มถัดมาด้วย
7.ทำมาจนถึงกลุ่มข้างหน้าเลยครับ ดูต้นแบบประกอบเยอะๆครับ เอาสีนี้มาลงตรงส่วนที่
เป็นเงาของน้ำด้วยครับ ซึ่งจะมีเขียวเข้มแซมอยู่
8.เพิ่ม น้ำหนักของสีเขียวให้เข้มขึ้นอีกครับ ลงที่กลุ่มด้านหน้าครับ โดยเอาเขียวเดิม มา
ผสมน้ำเงินและน้ำตาล ตามด้วย Yellow ochre +Burnt sienna รองพื้นในส่วนพื้นดินครับ
พอถึงตรงนี้ ก็รองพื้นเสร็จรอบแรกครับ จะเห็นภาพรวมของสี น้ำหนัก และระยะ พร้อมที่
จะแก้ไขและเพิ่มเติม
9.เก็บ รายละเอียดกันเลยครับ ตรงต้นไม้ระยะไกลสุดผมคงไม่ไปแก้เพิ่มเติมเพราะค่อน
ข้างพอใจ เลยมาเริ่มลงรายละเอียดในกลุ่มถัดมา โดยใช้เขียวเดียวกับที่รองพื้น แต้มทับ
ไปทับมาทั้งอ่อนและเข้ม
ควบคุมให้ดี โดยไม่ให้ระยะที่เราพยายามแยกตั้งแต่ตอนแรกเท่ากัน
10.กลุ่ม ต่อไป ใช้เขียวโทนเดิมครับ แต่เราเพิ่มส่วนที่เป็นแสง โดยใช้เขียวผสมขาว ถ้า
ใส่ขาวแล้วดูเป็นแป้งมากไปให้แตะสีเหลืองเพิ่ม โดยให้เรานึกถึงหลักความเป็นจริง เวลา
วัตถุอยู่ใกล้ๆเข้ามาเรื่อยๆก็จะเริ่มมีความชัดเจนขึ้นทีละนิดครับ
11.ถัดมาผสมเขียวให้สว่างขึ้น เพื่อให้เกิดความชัดเจน ผมป้ายเป็นทีเล็กๆทับไปมาหลาย
รอบนะครับระหว่างโทนอ่อน กลาง เข้ม จะได้ลักษณะการทับซ้อนของใบไม้
12.ด้านหน้าทับไปอีกครับ โดยเพิ่มความสว่างของสีเขียวอีก และเพิ่มความเข้มของส่วน
ที่ลึกด้วย
13.ใช้ Yellow ochre +ขาว แตะแสงในส่วนของพื้นดินทั้งซ้ายและขวา เหล่านี้เป็นการจับ
ลักษณะเท่านั้น ไม่ต้องเหมือนซะทั้งหมดก็ได้ จะเห็นว่าการที่เรารองพื้นตอนแรกด้วยสี
เขียวทั้งภาพ จะเป็นการคลุมโทนให้สีไม่โดด
14.ลงสีพื้นน้ำ น้ำก็คือกระจก แต่เป็นกระจกที่เลือนราง สิ่งแรกที่สะท้อนลงมาให้เราเห็น
อย่างชัดเจนคือ ท้องฟ้า สังเกต แสงที่สะท้อนแล้วทำตาม ในน้ำก็จะมีเขียว
อ่อน กลาง เข้ม ตรงพื้นดินฝั่งขวา ก็จะมีเงาสะท้อนสีของพื้นดินลงมา ส่วนด้านซ้าย เป็นลักษณะของเนินดินลาดๆที่โผล่พ้นน้ำ เราใช้น้ำตาลแดงผสมYellow ochre เกลี่ยสีให้ค่อยๆจางหายไปกับน้ำ
ก็จะดูเหมือนน้ำตรงนั้นตื้นจนเห็นเนินดินขึ้นมา สังเกตว่าไม่เหมือนกับฝั่งขวานะครับ
15.เก็บ รายละเอียดรอบสุดท้ายอีกที ดูความเรียบร้อย ใส่ลำต้นของต้นไม้ ถึงตรงนี้ลอง
ถามเพื่อนๆหรือคนที่นั่งข้างๆดูว่าตรงไหนดูแปลกๆบ้าง เพราะเรานั่งวาดตั้งแต่ต้นจะมอง
ไม่ออก อย่าลืมหรี่ตามองแสงเงาจะทำให้ดูได้ง่ายขึ้น
ภาพแรกคือต้นแบบ
ภาพที่สองหรี่ตาแล้วจะเห็นเป็นแบบนี้
ภาพที่สาม จะสามารถแบ่งน้ำหนักได้ง่ายขึ้น
ส่วนอันนี้เป็นการวาดต้นไม้ครับ
http://www.how-to-draw-and-paint.com/how-to-draw-trees.html
สรุป หลักๆก็คือการแบ่งระยะถ้าต้องการให้ภาพดูไกล ให้นำสีบรรยากาศที่เราใช้ใน
ภาพนั้นๆมาผสมหรือเกลี่ย ยิ่งไกลมากเท่าไหร่ก็ยิ่งมีสีเหล่านี้มาเจือปนมากเท่านั้น