การวาดรูปสีอะครีลิคทิวทัศน์ทะเล
สีอะครีลิค เป็นสีที่ในปัจจุบัน มีคนหันมาสนใจกันมากขึ้น ด้วยความที่แห้งเร็ว สามารถซ้ำหรือแก้ไขได้หากเขียนผิด อุปกรณ์ก็ไม่ยุ่งยากมากมาย ไม่มีกลิ่นเหม็นรบกวน สามารถเขียนบนวัสดุได้หลากหลาย เช่น ผ้า ไม้ เสื้อยืด กระเป๋า ฯลฯขั้นตอนการวาดรูปสีอะครีลิค มีหลากหลายวิธีตามแต่จะประยุกต์ วิธีที่จะนำเสนอในวันนี้จึงสามารถนำไปประยุกต์ให้เข้ากับความถนัดของแต่ละคน ครับ เรื่องของสี ก็อย่าไปซีเรียสมากครับ เอาแค่คล้ายๆหรือใกล้เคียงก็พอ อย่าจำเป็นสูตร เพราะเหล่านั้นสามารถพลิกแพลงและแก้ไขได้ ซึ่งก็เกิดจากประสบการณ์และการฝึกฝนนั่นเอง รูปที่เอามาเป็นแบบในวันนี้นำมาจาก
http://www.photoontour.com จะพยายามบอกให้ละเอียดที่สุดเท่าที่จะทำได้นะครับ
ภาพทะเลภาพนี้มีโจทย์ที่มีความต่างกันในภาพ มีทั้งท้องฟ้า ทะเล ก้อนหิน ต้นไม้
เหล่านี้ เราหนีไม่พ้นในภาพทิวทัศน์ ลองดูนะครับ เห็นแบบแล้วอย่าพึ่งถอดใจ ลงมือทำก่อนดีกว่า ชิ้นแรกไม่ดี ชิ้นต่อๆไป ก็จะดีขึ้นมาเอง
1.งาน ชิ้นนี้ผมจะลองเขียนโดยการรองพื้นภาพนี้ด้วยโทนสีเรียบๆสีเดียวทั้งแผ่น โดย
รองพื้นสีฟ้าอมม่วง (ultramarine+violet+titanium white) ให้โทนสีใกล้เคียงต้นแบบครับ ทาลงไปทั้งภาพเลยครับ โดยที่ยังไม่ต้องร่างรูป ผสมน้ำเล็กน้อยให้ทาง่ายขึ้น และสีก็จะลงไปตามซอกผ้าใบได้ง่ายขึ้นด้วย ผมทาสองรอบครับ โดยรอบแรกต้องรอให้แห้งก่อน
นะครับ แล้วจึงค่อยทับรอบสอง (ส่วนใหญ่มือใหม่ เวลาจะแก้งานมักไม่รอให้สีแห้งก่อน ใจร้อน ไปแก้ในขณะที่สียังไม่แห้ง เหนื่อยเปล่านะครับ) ใช้แปรงเบอร์ใหญ่ๆนะครับจะได้เร็วๆซึ่ง วิธีลงแบบนี้จะเหมาะกับภาพต้นแบบที่มีบรรยากาศโดยรวม หรือสีส่วนใหญ่ในภาพ
หนักไปทางโทนใดโทนหนึ่งมากๆ หรือประมาณ 80 % ขึ้นไป เช่น ภาพดวงอาทิตย์
กำลังตกดิน โทนสีโดนรวมจะไปทางแดงส้ม เราก็รองพื้นด้วยโทนนี้เลยครับ
2.ร่างรูปลงไปครับ เริ่มที่เส้นขอบฟ้าก่อน แล้วตามด้วยวางตำแหน่งต่างๆคร่าวๆครับ
ย้ำ ว่าคร่าวๆนะครับ ไม่งั้นเราจะคอยแต่ไปเก็บรายละเอียดก่อนอยู่เรื่อย พอเก็บจนเสร็จ
ที่นึงก็ไปทำอีกที่นึง ที่นี้ภาพรวมของงานอาจจะเสียและผิดตำแหน่งครับ เราก็ต้องมา
นั่งลบ ส่วนที่เราตั้งใจเก็บรายละเอียดไปแล้ว พอวางตำแหน่งเสร็จแล้วค่อยเริ่มเก็บ
รายละเอียดไปเรื่อยๆครับ ทีนี้ก็จะเกิดคำถามขึ้นว่า แล้วจะร่างละเอียดแค่ไหน เพราะเห็นคลื่นน้ำเป็นฝอยมากมาย ไหนจะต้นไม้ที่ดูยุบยับไปหมด ซึ่งอันนี้แล้วแต่คนวาดนะครับ หากเห็นว่าถ้าเราไม่ร่างรายละเอียดดังกล่าวแล้วทำให้เราสามารถลงสีได้ถูก ต้องโดยไม่ผิดเพี้ยนก็ไม่ต้องร่างครับ อีกอย่างนึงมือใหม่มักไม่ชอบร่างรูปครับ เข้าใจครับว่าน่าเบื่อ แล้วก็กะว่าจะไปแก้ปัญหาอีกทีตอนลงสีใช่ไม๊ครับ อันนี้ไม่แนะนำเลย แก้ปัญหาตอนร่างรูปง่ายกว่าตอนลงสีไปแล้วมากมายหลายเท่า ตอนร่าง รูปผมใช้ดินสอสีม่วงครับ ไม่สกปรกดี แล้วก็ตัดเส้นด้วยสีอะครีลิคสีม่วงหรือน้ำเงินก็ได้ครับ จุดประสงค์เพื่อให้เห็นเส้นร่างครับ ไม่งั้นพอลงสีไปแล้วมันจะไปกลบรอยร่างดินสอจนมองไม่เห็นครับ
3.ขั้น ต่อไป ภาพทิวทัศน์นิยมวาดจากข้างหลังมาข้างหน้า แต่ใครจะเริ่มจากข้างหน้าก่อน
ก็ได้ครับ ไม่ผิดกติกา ผมใช้ultramarine+violet+titanium white แต่ใช้ขาวให้มากขึ้น
เพื่อทำเป็นเมฆครับ ทีนี้สีฟ้าที่เป็นพื้นมันดันแห้งแล้ว จะทำไงถึงจะเกลี่ยสีได้ หากเป็น
สีน้ำมันขั้นตอนนี้จะเกลี่ยให้นุ่มและกลมกลืนได้ง่ายมาก ส่วนสีอะครีลิคผมใช้วิธีปัดแห้งครับ(drybrush) คือจุ่มสีที่จะปัดลงไป ในที่นี้คือขาวอม
ฟ้าม่วงนิดๆ เนื้อสีข้นๆโดยไม่ใส่น้ำเลย จุ่มสีลงไปแล้วคนให้สีติดให้ทั่วขนพู่กัน (ผมใช้
ขนแบนเบอร์ 11 ครับ)แล้ว เช็ดสีที่ติดอยู่ ให้หมาดจนเกือบแห้งครับ แล้วปัดลงไป ที่นี้
มันจะเหมือนเรากำลังใช้ดินสอในการวาดเส้นแล้วครับ แรกๆจะคลุมไม่อยู่ครับ ค่อยๆปัดนะครับ ใครใจร้อนจะได้รอยจ้ำเป็นดวงๆมาแทน พอปัดจนสีเริ่มหมดแล้ว ก็ย้อนกลับไปทำแบบเดิมใหม่ครับ ชั้นแรกอาจจะปัดแค่แผ่วๆนะครับ เพื่อให้เห็นเป็นเมฆระยะไกลๆ พอรอบสองปัดให้หนักมืออีกหน่อยก็จะได้ก้อนเมฆที่สว่างมากขึ้น หรือหากยังสว่างไม่พอก็เพิ่มสีขาวผสมเข้าไป สุดท้าย ผสมสีเหลืองอมส้ม+ขาวมากๆ เป็นแสงจากดวงอาทิตย์ครับ วิธีนี้อาจเหมาะกับการวาดลงบนพื้นผิวที่หยาบหน่อยจะทำได้งานกว่านะครับ
พอถึงตรงนี้อาจคิดว่าท้องฟ้าเสร็จแล้ว ยังครับยัง เราจะไม่ตัดสินว่างานเสร็จแล้วจนกว่าจะเห็นภาพรวมทั้งหมดของรูปครับ เพราะฉะนั้นท้องฟ้าเป็นเพียงแค่การเขียนภาพรวมจะเพิ่มหรือแก้ไขใดๆต้องตอน ท้ายว่ากันอีกที ที่บอกอย่างนี้เพราะไม่อยากให้เราจดจ่อเก็บรายละเอียดมากๆจนเสร็จ ในภาพนี้ยังมีอีกตั้งหลายสิ่งที่เรายังไม่ได้วาดลงไปเลย เราจะตัดสินได้อย่างไรใน
เมื่อเรายังไม่เห็นภาพหรือสีของวัตถุรอบๆเลย อดใจรอหน่อยครับ รู้ว่าอยากเห็นภาพตอนเสร็จเร็วๆขอ แทรกเรื่องการผสมสีนิดนึงครับ เวลาเราผสมสี เราควรบีบสีโทนอ่อนออกมา
ก่อนแล้วค่อยแตะโทนที่เข้มกว่าทีละน้อย เพิ่มลงไป ยกตัวอย่างก้อนเมฆในภาพนี้
ผมต้องการสีขาวที่อมฟ้าม่วงเล็กน้อยเท่านั้นเอง ซึ่งหากไม่สังเกตจะมองเห็นเป็นสีขาว ซึ่งในกรณีนี้หากผมบีบสีขาวลงไป บนสีฟ้าอมม่วงที่รออยู่ในจานสีแล้ว เราคงต้องหมดสีขาวไปจำนวนมากอย่างแน่นอนกว่าจะได้สีโทนที่ว่า กลับกันเราลองเปลี่ยนเป็น แตะสีฟ้าม่วงแค่ปลายพู่กัน แล้วผสมลงในสีขาวที่รออยู่และปริมาณมากกว่า ก็จะทำงานได้เร็วขึ้นและไม่เปลือง
หรี่ตามองแสงทำอย่างไร?วิธี หรี่ตามองแสง วิธีนี้จะทำให้เรามองเห็นภาพเป็นเบลอๆ
เหมือนสายตาสั้นน่ะครับ รายละเอียดต่างๆจะไม่ชัดเจน เราจะสามารถเห็นน้ำหนักต่างๆ
ได้ง่ายขึ้นดูตามรูปตัวอย่างประกอบไปด้วยนะครับ เมื่อเห็นน้ำหนักต่างๆแล้วเราก็จับคู่
น้ำหนักที่มีเท่าๆกันเอาไว้แล้วก็ เริ่มลงสีตามตำแหน่งที่เรากำหนดไว้ครับ พอเราลงน้ำ
หนักแล้วค่อยเก็บรายละเอียดทีหลังครับ
1.ภาพแรกคือภาพต้นแบบนะครับ จะเห็นว่าหากให้เรามองแสงเงาของต้นไม้และภูเขา
จะมองยากมาก ทุกอย่างดูยุ่งเหยิงไปหมด
2.ภาพ ที่สอง หากเราหรี่ตามองภาพที่ 1 แล้วจะเห็นเป็นแบบนี้ครับ รายละเอียดต่างๆ
ถูกตัดทิ้งไป จนเหลือแต่แสงเงาในน้ำหนักต่างๆ เป็นแผ่นชัดเจนขึ้น
3.แสดงภาพให้เห็นง่ายขึ้น โดยเรานำตำแหน่งของแสงเงาระดับต่างๆที่แยกได้เอาไปกำหนดขอบเขตในงานของเรา ได้เลยครับ พอเราวางตำแหน่งรวมๆของน้ำหนัก
ได้แล้ว ค่อยมาเก็บรายละเอียดเล็กน้อยๆอีกทีครับ
ต้นไม้ส่วนล่างผมตัดให้เหลือแค่ 2 น้ำหนักนะครับจะได้ไม่งง แต่ในการวาดจริงๆ
ให้ใส่โทนสว่างไปด้วยจะได้มิติที่มากขึ้นครับ
4.มา ต่อกันที่น้ำทะเลครับ ผสม ultramarine+violet แล้วเติมน้ำให้จางๆ เพราะเรารอง
พื้นด้วยโทนฟ้าแล้วการลงน้ำหนักสีที่เข้มกว่าจึงไม่จำเป็นที่จะ ต้องใช้สีข้นแต่อย่างใด
หรี่ตามองแสงเพื่อดูน้ำหนักของน้ำด้วยนะครับ ตรงไหนน้ำหนักบางลงก็เพิ่มปริมาณ
น้ำมากหน่อย ตรงไหนน้ำหนักเข้มก็เนื้อสีมากขึ้นครับ
5.ต่อ ไปรองพื้นก้อนหินครับ ผมใช้ yellow ocher+burnt sienna(เหลืองเข้ม+น้ำตาลแดง)ผสมน้ำจางๆทารองพื้นในส่วนของก้อนหิน โขดหิน ให้มีน้ำหนักอ่อน-แก่เหมือนกับตอนที่ทำทะเลครับ จับลักษณะเฉยๆนะครับ ไม่ได้มาเก็บให้เหมือนทุกกระเบียดนิ้ว ในขั้นตอนนี้สีของพื้นโทนฟ้าก็จะปรากฏขึ้นมาด้วยบางๆ เป็นการคลุมโทนของภาพไปในตัวครับ
6.ขั้นตอนต่อไปใช้โทนเดิมครับ แต่+สีน้ำเงินไปด้วย เพื่อเน้นในส่วนลึกของก้อนหิน เรือ
และตรงเนินเขาครับ น้ำหนักอ่อน-แก่ใช้ น้ำผสมเช่นเดิมครับ ตรงส่วนใบไม้ อาจใช้สีจาก
ข้อ 5.มาทำเป็นใบไม้ระยะไกลครับ สังเกตใบไม้นะครับว่าเป็นต้นไม้แบบใด ในต้นแบบ
เป็นใบที่ไม่หนาแน่นเลย อย่าแตะเพลินนะครับ
7.นำ สี yellow ocher+burnt sienna แต่ผสมขาว ลงไปอีกให้สว่างมากขึ้นระบายในส่วน
ของด้านแสงของก้อนหิน ผสมขาวมากน้อยอันนี้ ดูตามภาพต้นแบบนะครับ สังเกตว่า
เวลาระบายผมจะเว้นสีพื้นโทนฟ้าไว้เป็นบางส่วนครับ มาถึงตอนนี้ผมเริ่มผสมสีเพื่อเก็บ
รายละเอียดตรงน้ำบางส่วนแล้ว และรองพื้นรอบแรกก็เสร็จลงครับ
8.เริ่ม เก็บรายละเอียดครับ อาจจะเกิดคำถามว่าทำไมไม่เขียนทีเดียวเป็นจุด ให้เสร็จไป
เลย สำหรับคนที่ชำนาญสามารถทำได้ครับ แต่ถ้ามือใหม่จะกำหนดน้ำหนักไม่ได้ ไหน
จะเรื่องของสีที่เรายังกังวลมันอยู่ ถ้าเราไม่เห็นโครงสีโดยรวม เราอาจต้องเสียเวลาแก้
งานตรงโน้นที ตรงนั้นทีไม่มีจบครับ
ผมเริ่มเก็บรายละเอียดที่ทะเล โดยตอนนี้เรายังขาดสีเขียวอยู่ ใช้สีเขียว veridian+ขาว
(หลังจากนี้ไปผมจะใช้สีที่ค่อนข้างจะข้นตลอดจนเสร็จทั้งภาพนะครับ จะมีบาง
ส่วนที่ใช้สีบางๆบ้าง จะบอกเป็นจุดๆไปครับ) ทาแล้วปัดแห้งลงไปครับ ไล่ลงมาด้าน
ล่างเรื่อยๆ พอมาถึงตรงฟองคลื่น หรือโทนสว่างก็ใช้สีฟ้า+ขาว แล้วปัดเช่นเคย ดูแบบ
และหรี่ตามองแสงเช็คน้ำหนักเช่นเคย
9.ราย ละเอียดต่อไปครับ เพิ่มน้ำหนักเข้มในน้ำทะเลบ้างครับ โดยใช้น้ำเงิน+น้ำตาล
ผสมน้ำจางๆ ตามด้วยโขดหินที่ใช้yellow ocher+burnt sienna แต่เนื้อสีข้นหน่อย แตะ
เป็นบางส่วน ที่เห็นว่าโทนสีอาจจะยังไม่ได้อย่างที่ต้องการ (มาถึงตรงนี้ไม่ได้หมาย
ความว่าทุกคนจะต้องทำตามผมทุกขั้นตอนนะครับ บางคนอาจจะลงสีตรงโขดหินได้สี
อย่างที่ต้องการแล้ว ตรงนี้และครับที่มันไม่ใช่สูตรตายตัว แต่ละคนต้องดูภาพรวมและ
ความต้องการของแต่ละคน แล้วแก้ไขไปตามสมควรครับ)
แล้ว นำไปผสมสีขาว เพื่อลงในส่วนของน้ำบางจุดครับ แล้วก็เอาสีนี้แหละครับไปแต้ม
ตามโขดหินระยะหน้าให้เกิดความสว่างขึ้น รอให้แห้งซักพัก จังหวะที่รอ ใช้สีขาวแตะ
ฟ้าเทานิดๆ เน้นส่วนสว่างที่สุดของก้อนหินครับ สังเกตลักษณะของก้อนหินนะครับ
ไม่ได้มีขนาดเท่าๆกันทุกก้อน มีใหญ่บ้างเล็กบ้าง ซ้อนกันบ้าง
10.ใช้ น้ำเงิน+น้ำตาล 1:1 แทนสีดำ ผมไม่ใช้ดำล้วน เพราะสีดำมีความรู้สึกว่าหนักและ
ทึบตันเกินไป ผมใช้สีดำจริงๆในปริมาณที่น้อยมากๆในการวาดแต่ละรูป และบางรูปก็ไม่
ใช้เลย เอามาเน้นในส่วนที่เป็นซอกลึกๆครับ รวมทั้ง กิ่งไม้ต่างๆ เนินเขา ดูต้นแบบเยอะๆ
นะครับ เพื่อดูลักษณะของก้อนหินและต้นไม้ สังเกตว่า ผม เองก็ไม่ได้เขียนเหมือนแบบ
ทุกอย่าง ไปเกร็งกับความเหมือนมากเกินไปก็ไม่สนุกและเครียด เอากลางๆพอครับ จับ
แต่ลักษณะอย่างเดียวครับ เรื่องของระยะหน้า-หลังเป็นเรื่องสำคัญในการวาดภาพ ก้อน
หินส่วนหน้าเราก็ควรเน้นให้คมชัดกว่าด้านหน้านะครับ รวมถึงขนาดก็เป็นสิ่งที่สามารถ
บอกระยะได้เช่นกัน