แบบแผนงานศิลปะ schematic
โดย Dr. Marvin Bartel, Ed.D.
งาน ศิลปะเป็นสิ่งค่อนข้างชัดเจนและมีแบบแผน สิ่งเหล่านี้อาจจะเริ่มต้นประมาณอายุ 5 ขวบหรือเมื่อมีการเริ่มมีการสร้างภาพ การวาดภาพมักจะมีเส้นฐานข้ามพาดในส่วนล่าง นิ้วมือมักจะสร้างรูปร่างเรขาคณิตง่าย ๆ หรือแปะนิ้วมือลงไปในช่วงวัยนี้
ทำไมศิลปะเป็นการแสดงออกและการสื่อสาร และสร้างแบบแผน เพราะศิลปะเกิดมาจาก
1. Memories ความทรงจำ
2. Imagination จินตนาการ
3. Observations การสังเกต
กิจกรรมเหล่านี้ช่วยสร้างความคิดสร้างสรรค์ในเด็ก

การสอนการวาดภาพที่มาจากสังเกตให้กับเด็กเล็ก
ผู้ เขียนค้นพบว่าเด็กส่วนมากได้รับประโยชน์จากการสอนและการฝึกฝนตั้งแต่เล็ก ในการวาดภาพและการปั้นที่มาจากการสังเกต แต่สิ่งสำคัญคือ ต้องคำนึงถึงอายุของพวกเขา เด็กที่ไม่เคยได้รับการสอนทักษะการวาดจากการสังเกตซึ่งมีพื้นฐานมาจากการฝึก การสังเกต มักจะค่อนข้างคับข้องใจเมื่อพวกเขาพยายามที่จะพัฒนาไปสู่การวาดภาพในระดับ ที่สูงขึ้น พวกเขามักจะคาดหวังว่าจะวาดภาพได้เหมือนจริงยิ่งขึ้น เมื่อเขาอายุมากขึ้น ความเชื่อที่เข้าใจผิดว่า พวกเขาขาดพรสวรรค์ในขณะที่เพื่อนบางคนได้รับพรในการวาดภาพ เด็กเหล่านั้นท้อแท้เนื่องจากเห็นคนอื่นทำได้ดีกว่า นักการศึกษาด้านศิลปะกล่าวว่ามันคือ “วิกฤตของความมั่นใจในตัวเอง” (crisis of confidence) การวาดที่มาจากการสังเกตและการฝึกการเขียนรูปเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นปกติใน ชั้นอนุบาลและชั้นอื่น ๆ ในประเทศญี่ปุ่น ถ้าให้ทางเลือกแก่ผู้เรียน ให้มีโอกาสเลือกที่จะค้นคว้าด้วยตัวเองว่า พวกเขาจะเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ด้วยตัวเองอย่างไร จะมีซักกี่คนที่จะเลือกเรียนอ่าน เรียนเขียนและเรียนคณิตศาสตร์ ถ้าวิชาเหล่านั้นถูกละเลย .
ในอายุเท่า นี้(5ขวบ) เด็กจะไม่ค่อยสมัครใจที่จะเรียนรู้ถ้อยคำและข้อจำกัดต่าง ๆ มันจะต้องมีทางเลือกให้พวกเขาที่จะทำสิ่งต่าง ๆ การเรียนรู้ศิลปะเป็นการตระหนักถึงลักษณะของความสนุกสนานด้วยตัวเองอย่าง ง่าย ๆ เราควรที่จะสอนและอย่าทำลายสิ่งเหล่านี้ และไม่ควรสอนในวิถีทางที่ปกติ และทำให้มันเหมือนเป็นการเล่นเกมส์ เด็กในวัยนี้เรียนรู้มากมายมหาศาลในระหว่างที่พวกเขามีความรู้สึกในขณะทำ กิจกรรมต่าง ๆ เป็นสิ่งที่แย่มากถ้านำความสนุกสนานออกไปจากการวาดภาพ

เราจะสอนการวาดภาพจากการสังเกตได้อย่างไร
มี หลากหลายวิธีที่ง่ายๆ ในการสอนการวาดจากการสังเกต ก่อนที่เด็กจะเข้าสู่วิกฤตของความมั่นใจและความคับข้องใจ (crisis of confidence) ในวัยที่เล็กกว่านี้พวกเขายังไม่พร้อมเรียนรู้ในการเปรียบเทียบภาพวาดของตัว เองกับภาพของคนอื่น
เด็กเล็กวัย 5 ขวบ (และผู้ใหญ่หลายคน) มักจะไม่ตระหนักถึงว่าศิลปินเรียนรู้การวาดภาพจากการฝึกฝนการสังเกตอย่างละเอียด
สมอง ที่ได้รับการกระตุ้นในการเจริญเติบโตในส่วนของการเรียนรู้ที่จะสังเกตและวาด ภาพ จะมีอำนาจวิเศษด้านการวาดที่เหมือนกับเป็นพรสวรรค์มาตั้งแต่เกิด แต่ก็อาจจะเป็นไปได้ที่เด็กบางคนเกิดมาพร้อมสมอง และสัญชาตญาณในการเอนเอียงไปในการวาดภาพมากกว่าเรื่องอื่น แต่นิสัยเหล่านี้เป็นได้ทั้งโดยตัวเอง และจากการเจริญเติบโตตามวัยในสิ่งแวดล้อมรอบตัวของเขา เด็กที่ชอบวาดภาพด้วยตัวเองมักจะค้นพบได้เองว่าจะสังเกตสิ่งต่าง ๆ แล้ววาดออกมาอย่างไร ซึ่งดูเหมือนเป็นสิ่งท้าทายสำหรับตัวเขาในวัยนั้น ๆ ถ้าสิ่งเหล่านี้ไม่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นไปได้น้อยมาก ในวัย 8-10 ขวบ เด็กส่วนใหญ่มักถูกทำให้เชื่อว่า มีเด็กเพียงบางคนเท่านั้นที่มีพรสวรรค์ ซึ่งตัวเขาเองไม่มี ทั้งผู้ใหญ่และเด็กมีความเชื่อที่ผิดว่า ทักษะการวาดภาพ เกิดขึ้นมาเองซึ่งเป็นความสามารถที่ไม่จำเป็นต้องฝึกฝน

อะไรคือสิ่งที่ต้องหลีกเลี่ยง
เมื่อ ทำงานร่วมกับเด็กวัย 3-6 ขวบ ผู้เขียนไม่เคยคาดหวังภาพที่เหมือนกับเป็นผลงานของผู้ใหญ่จากเด็ก , ไม่เคยวาดภาพให้เด็ก , ไม่เคยสั่งให้เด็กวาดภาพจากภาพวาดอื่น ๆ , ไม่เคยแก้ไขงานของเด็ก ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นการลดความมั่งใจของเด็ก แต่ควรที่จะยืนยันความพยายามของเด็กว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้อง การเรียนรู้ไม่ควรถูกทำลายความอยากรู้ โดยการส่งเสริมความปรารถนาที่จะรู้ของเด็ก ไม่ใช่มาจากตัวครูผู้สอน เนื่องจากธรรมชาติของเด็กวัยนี้ ครูควรแสดงสิ่งที่น่าสนใจ ให้ข้อมูลต่าง ๆ และย้ำเตือนความคิดด้านบวกในการทำงานอย่างตั้งใจ และพยายาม อยู่เสมอ ๆ .
ผู้ เขียนไม่เคยให้สมุดภาพระบายสีแก่เด็ก หรือขั้นตอนในการทำสิ่งใดอย่างละเอียด อันเป็นผลมาจากการคิดรูปแบบทำงานที่ออกแบบโดยบุคคลอื่น แต่ไม่ใช่ตัวของเด็กเอง เด็กสามารถวาดภาพและระบายสี ทำงานต่าง ๆ ได้ด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องการการชี้นำหรือแบบแผน ด้วยเหตุนี้ การพัฒนาด้านความคิดจะได้รับการสำรวจ ก่อเกิด ทดลอง และได้รับการส่งเสริมให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยตัวเด็กเอง สังคมของพวกเรา(ผู้เขียน) ไม่มีความต้องการให้เยาวชนของเราเรียนรู้วิธีการ ความคิดในการประดิษฐ์สิ่งตาง ๆ ด้านศิลปะของบุคคลอื่น ถ้าพวกเขามีโอกาสในการเรียนรู้การทำงานและสร้างสรรค์งานของตนเองก่อน เมื่อพวกเขาเติบโตขึ้นในช่วงวัยของวิกฤตการณ์ความมั่นใจในตัวเองด้าน ศิลปะ(crisis of confidence) พวกเขาจะรู้ว่าควรทำอย่างไรที่จะก้าวข้ามปัญหานั้นและเรียนรู้ศิลปะได้ต่อไป แน่นอนว่า การสังเกตเป็นเครื่องมือเดียวในการทำงานด้านการวาดภาพ และการวาดภาพคือสิ่งจำเป็น 2 สิ่งที่เสริมการทำงานศิลปะคือ การวาดภาพจากประสบการณ์ ความจำ และการวาดภาพจากจินตนาการ

สิ่งที่ควรทำ
ใน ช่วงวัยนี้(3-6 ขวบ) เหมาะที่จะฝึกให้ใช้เวลาในการวาด หลังจากเด็กได้ฝึกวาดภาพมาระยะหนึ่งแล้ว ภาพวาดจะเริ่มมีลักษณะคงที่และมีมาตรฐานมากขึ้น(ตามวัย) ในส่วนล่างของภาพมักจะปรากฏเส้นฐาน ภาพคนมักเกิดขึ้นมาจากการรวมกันของรูปเรขาคณิตง่าย ๆ หรือเป็นภาพคนที่มีลักษณะเป็นเส้น(ซึ่งอาจจะมาจากการสอนของผู้ปกครอง)
ผู้ เขียนมักจะให้ ความช่วยเหลือด้านต่าง ๆ ที่จะทำให้เด็กสามารถวาดภาพได้ดีขึ้น เฉพาะเมื่อเด็กสนใจหรือต้องการ ผู้เขียนให้เด็กเลือกบางสิ่งเล็กๆที่พวกเขาชอบ แต่เป็นสิ่งที่พวกเขาไม่เคยวาดมาก่อน เราไม่ควรเลือกให้เด็กวาดในสิ่งที่สมองของพวกเขาได้เคยเรียนรู้ลักษณะหรือ วิธีการในการวาดสิ่งนั้นมาก่อนอยู่แล้ว

การฝึกการสัมผัส
เด็ก เรียนรู้ที่จะสังเกตผ่านประสบการณ์ทางประสาทสัมผัสทุกอย่างของตนเอง ไม่เฉพาะผ่านทางการมอง ผู้เขียนเริ่มการฝึกด้วยการใช้นิ้วลากตามแนวสัมผัสด้านข้างของวัตถุอย่างช้า ๆ จากมุมมองของเด็ก จากนั้นให้เด็กทำตามอย่างเดียวกัน ใช้นิ้วลากลากช้า ๆ เพื่อให้สังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงทิศทางของเส้น ในขณะเดียวกันครูพูดเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว เช่น “ ตอนนี้เรากำลังเดินอยู่บนด้านข้างของวัตถุ , ตอนนี้เรากำลังลาดเอียงลงเล็กน้อย , ตอนนี้มีทางขรุขระเล็กน้อย ,ตอนนี้เรากลับมาด้านข้างอีกครั้งหนึ่ง….. ครูควรให้เด็กอธิบายการเคลื่อนที่ของตนเองในลักษณะเดียวกัน ครูกล่าวชื่นชมเด็กในการมีส่วนร่วมและบอกแก่พวกเขาว่าพวกเขาทำได้ดีเพียงใด

การฝึกหัดกลางอากาศ.
ขั้น ตอนจากนี้ไปผู้เขียนให้ฝึกใช้นิ้วมือลากเส้นบนอากาศ ขณะที่มองผ่านนิ้วมือของตนเองโดยห่างจากวัตถุประมาณ ๑๒ นิ้ว โดยให้เคลื่อนนิ้วอย่างช้า ๆ และขณะเดียวกันพูดคุยกันเกี่ยวกับการเคลื่อนของมือที่เกิดขึ้น ในทุก ๆ การขยับทีละเล็กทีละน้อย ซึ่งการขยับที่เกิดขึ้นเกิดจากนิ้วของเราเลียนแบบเส้นขอบของวัตถุในอากาศ หลังจากนั้นครูกระตุ้นนักเรียนให้ฝึกวาดภาพในอากาศด้วยนิ้วมือของเขาเอง เราเลือกสังเกตเส้นขอบส่วนอื่นของวัตถุสำหรับฝึก แล้วพวกเราเริ่มลงมือฝึกในอากาศพร้อมกัน พร้อมกับพูดอธิบายเกี่ยวกับการเคลื่อนที่เกิดขึ้นไปพร้อม ๆ กัน เราเคลื่อนไหวนิ้วมือของเราอย่างช้า ๆ ตามเส้นขอบของวัตถุในอากาศ พร้อมกับพูดเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของนิ้วมือเรา เพื่อที่จะให้นักเรียนเริ่มเกิดการสังเกตเห็นเส้นขอบของสิ่งของ ทำให้เกิดการเรียนรู้ในการมองส่วนใดส่วนหนึ่งของสิ่งต่าง ๆ ไม่ใช่แค่การมองภาพรวมของรูปทรงสิ่งของ ซึ่งเรียกว่า”การฝึกการเขียนเส้น” หรือ “การเรียนรู้เส้นขอบของวัตถุ” ซึ่งผู้เขียนส่งเสริมเด็ก ๆ ให้เกิดการสังเกตเห็นเส้นขอบของวัตถุอย่างสนุกสนาน
เวลาส่วนใหญ่ในชีวิต เราไม่มีโอกาสที่จะต้องมองสิ่งต่าง ๆ อย่างละเอียดลอออย่างนี้มาก่อน ซึ่งนี่เป็นเหตุผลอย่างหนึ่งที่ทำให้คนส่วนใหญ่ไม่สามารถวาดภาพสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างที่ตาเห็น ผู้ใหญ่สามารถได้รับการฝึกสมองอย่างนี้ได้เช่นกัน แต่สมองของพวกเราจะสามารถเสริมสร้างสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ได้ดีในช่วงที่เราอายุน้อย ๆ ในหลายๆ ส่วนของสมองเรามีช่วงเวลาของพัฒนาการที่แน่นอน ซึ่งเป็นธรรมชาติของการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ เราไม่อาจรู้ได้จริง ๆ ว่าช่วงเวลาใดเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการเรียนรู้การสังเกตให้ได้ง่ายที่ สุด

<center>

การฝึกตาบอด(Blind contour) 
ตอน นี้เด็กสามารถฝึกการวาดเส้นขอบบนกระดาษได้แล้ว(ซึ่งไม่ใช่รูปทั้งหมดของ วัตถุ) โดยใช้ดินสอไส้อ่อน ซึ่งในขณะวาดไม่ให้มองกระดาษ(Blind contour) ผู้เขียนไม่เคยทำการวาดBlind contour เป็นตัวอย่างให้เด็กดูมาก่อน เพราะเราไม่ต้องการให้เด็กลอกเลียนแบบจากการมองเส้นของครูผู้สอนซึ่งเป็นการ เข้าใจที่ผิดที่จะต้องทำให้เหมือนครู
ผู้เขียนจะเสนอให้ใช้อุปกรณ์ช่วย วาดภาพ ซึ่งเป็นกระดาษเจาะรูตรงกลางด้วยดินสอ เพื่อที่จะบังภาพวาดบนกระดาษขณะที่วาด กระดาษที่บังการมองเส้นที่วาดบนมือของเด็กจะช่วยให้เด็กหลีกเลี่ยงความ พยายามที่จะมองภาพวาดของตนมากกว่าการให้ความสนใจเส้นขอบของวัตถุที่ตนวาด อยู่ การสังเกตไม่ได้ถูกเรียนรู้จากการมองรูปภาพที่ตัวเองวาด ครูควรย้ำเตือนเด็ก ๆ เสมอให้เคลื่อนไหวดินสอเฉพาะขณะที่ตาได้เรียนรู้หรือสังเกตเห็นสิ่งนั้นจริง ๆ ทำให้เหมือนกับที่เราทำในอากาศ ลากเส้นอย่างช้า ๆ ตามการเคลื่อนที่ของการมองอย่างละเอียด และควรจะชมเชยเด็กอย่างจริงใจในขณะที่พวกเขาได้ผ่านขั้นตอนต่าง ๆ ของการฝึกอย่างตั้งใจ
สายตาของเราอาจจะมองที่กระดาษในขณะที่ดินสอหยุด นิ่ง แต่ไม่ใช่ขณะที่ดินสอกำลังลากเส้นอยู่ เพราะขณะที่ดินสอกำลังเคลื่อนควรเป็นช่วงเวลาที่ดินสอจำลองแบบเส้น ตามที่ตามองเห็นวัตถุอยู่ ไม่ใช่การวาดจากความจำหรือจินตนาการ ครูควรย้ำเตือนเด็ก ๆ ให้มองอย่างตั้งใจและระมัดระวังกับวัตถุต้นแบบ ในระยะเริ่มต้นการฝึกทำเฉพาะเส้นขอบไม่ใช้การวาดทุกสิ่งของวัตถุ

<center>สอนวาดภาพ,สีน้ำ,สีน้ำมัน,สีอะครีลิค,ศิลปะเด็ก,ติวนฤมิตศิลป์,ติวทฤษฎีนฤมิตศิลป์,ติวมัณฑนศิลป์,ติวพัสตราภรณ์,ติวนิเทศศิลป์,ติวออกแบบภายใน,ติวสถาปัตย์ ,การทำ Portfolio ,Fashion,Computer Graphic,ติวแฟชั่น,ติวออกแบบ,ติววาดรูป,เรียนวาดรูป,เรียนศิลปะ,เรียนศิลปะเด็ก,ติวความถนัด,ติวสีน้ำ,ติวเขียนแบบ,ติวเข้าศิลปากร,ติวเข้าลาดกระบัง,รับทำกรอบรูป,กรอบรูป,ตัดกรอบรูป,กรอบลอย
การวาดเส้นอย่างแท้จริง
หลัง จาการฝึกการมองและวาดเส้นขอบแล้ว(เป็นการฝึกวาดเส้นพะรุงพะรัง) เด็กจะอยากเปลี่ยนไปวาดภาพรวมทั้งหมด ได้เวลาแล้ว! ผู้เขียนแจกกระดาษอีกชนิดหนึ่งสำหรับการฝึกนี้ แต่นำกระดาษฝึกต่าง ๆ มาติดไว้ในตำแหน่งที่เห็นได้ง่าย ลองให้เด็กลองวาดโดยมีกระดาษบังช่วยวาดในตอนแรก แต่ภายหลังให้เด็กวาดโดยไม่ใช้กระดาษบัง คอยเตือนเด็ก ๆ ให้มองที่วัตถุให้มากที่สุด มองที่กระดาษเฉพาะตอนที่การวาด ซึ่งมันมักจะเป็นไปเองตามธรรมชาติ ดังนั้นการมองที่วัตถุเป็นการแก้นิสัยในการวาดที่เปลี่ยนได้ยาก นอกเสียจากว่านิสัยเหล่านี้ถูกเปลี่ยนไปแล้ว การสังเกตที่ดีจะไม่สามารถกลายเป็นนิสัยของเขาไปได้ถ้าเขาไม่เปลี่ยนแปลงตัว เองในการมอง
ก่อนที่พวกเขาจะเริ่มต้นวาด ผู้เขียนจะถามคำถามที่กระตุ้นการเรียนรู้เส้นขอบและเส้นที่แสดงรายละเอียด ของวัตถุ ตั้งคำถามที่เกี่ยวกับการเปรียบเทียบขนาด สัดส่วนของวัตถุ และคำถามที่เกี่ยวกับการเปรียบเทียบความสว่างความมืดด้วย
หลังจากที่พวก เขาวาดวัตถุ ครูอาจจะพูดให้กำลังใจเด็กอย่างจริงใจ และตั่งคำถามเพื่อให้เด็กเกิดการสังเกตที่มากขึ้น เช่น “ มันดูดีมาก ๆ ! มันมีอะไรอย่างอื่นอีกมั้ยที่คุณมองเห็น? ยอดเยี่ยมมาก! คุณสังเกตเห็นอะไรอย่างอื่นอีกมั้ย? ครูชอบมากนะ มีอะไรที่เล็ก ในบางที่บ้างรึเปล่า? มันเป็นเส้นที่น่าตื่นเต้นมาก มีส่วนไหนที่เป็นเส้นเอียงบ้างมั้ย? งานดีมาก มีส่วนของเส้นโค้งบ้างรึเปล่า? หรือ มีส่วนไหนที่ถูกบางส่วนบังอยู่รึเปล่า?

การจัดการกับข้อผิดพลาด
ผู้ เขียนมักจะให้นักเรียนใช้ดินสอไส้อ่อน เช่น 6B เป็นดินสอวาดภาพ ซึ่งเป็นดินสอที่ให้เส้นที่มองเห็นได้ง่ายโดยไม่ต้องใช้แรงกดมาก และควรเป็นดินสอที่ไม่มียางลบ และจะมียางลบดีๆ ให้เด็กมองเห็นได้แต่ไม่สามารถหยิบใช้ ในขณะที่พวกเขาต้องการใช้มัน ผู้เขียนจะแนะนำเด็ก ๆ ว่า ศิลปินมักจะปล่อยเลยตามเลยและลากเส้นใหม่ แล้วปล่อยเส้นเก่าไว้ แล้วเมื่อวาดเสร็จศิลปินค่อยใช้ยางลบ ลบเพื่อตกแต่งภาพในขั้นตอนสุดท้าย ปล่อยข้อผิดพลาดทิ้งไว้ ซึ่งเป็นการเรียนรู้จากข้อผิดพลาด เราวาดภาพทั้งหมดได้แล้วเราจึงจะมองเห็นทางแก้ไข แล้วจึงเริ่มซ่อมแซมมันจนกว่าเราจะพอใจ เหมือนกับศิลปิน เราอาจจะวาดบางสิ่งหลายหนจนกว่าเราจะพอใจ การทำใหม่บนกระดาษอีกแผ่นหนึ่งทำได้แต่จะอนุญาตให้หลังจากการฝึกวาดภาพแรก นั้นเสร็จสมบูรณ์แล้ว

การเรียนรู้อื่น ๆ ที่สำคัญ
การวาด จาการสังเกตเป็นเพียงหนึ่งในสามวิธีที่เด็กจะได้เรียนรู้การวาดตามแบบศิลปะ เด็กควรที่จะได้วาดจากประสบการณ์(ความทรงจำ) และการวาดจากหัวข้อที่เกี่ยวกับจินตนาการ กิจกรรมการวาดภาพหัวข้อเหล่านี้พัฒนาส่วนสำคัญส่วนต่าง ๆ ในสมองของเด็ก

ที่มา http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=pjan&date=29-11-2009&group=15&gblog=6